- จันทร์ :08:00-18:00
- อังคาร :08:00-18:00
- พุธ :08:00-18:00
- พฤหัสบดี :08:00-18:00
- ศุกร์ :08:00-18:00
- เสาร์ :08:00-18:00
- อาทิตย์ :08:00-18:00
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลเวชธานี ให้บริการตรวจร่างกาย ตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว111 เป็นศูนย์เฉพาะทาง ด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่ครบวงจรและได้รับการรองรับจากราชวิทยาลัยสูตินรีเวชแห่งประเทศไทย ให้การรักษาโดยสูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และทีมนักวิทยาศาสตร์เฉพาะด้าน ดูแลด้วยความเอาใจใส่ เพื่อบริการที่ครอบคลุม ให้คำปรึกษาตรวจวินิจฉัยและรักษาแก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก
การตรวจร่างกาย
ชื่ออื่นๆ : การตรวจร่างกาย ก่อนการรักษาภาวะมีบุตรยาก, การตรวจเบื้องต้นเพื่อหาสาเหตุการมีบุตรยาก
การตรวจร่างกาย คืออะไร ทำไมต้องตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายคือ เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการวางแผนสำหรับมีบุตร เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถคิดได้ล่วงหน้า ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ความสำเร็จของการตั้งครรภ์แต่เพียงอย่างเดียวแต่เพื่อให้มารดานั้นมีสุขภาพที่ดีในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งจะนำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัยและสุขภาพของบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงในอนาคต แพทย์นั้นจะต้องทำการสอบถามประวัติ ตรวจร่างกายและทำการตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เพื่อค้นหาปัจจัยต่างๆที่ส่งต่อความยากง่ายของการมีบุตร รวมถึงปัจจัยที่จะส่งผลต่อสุขภาพของฝ่ายหญิงเมื่อมีการตั้งครรภ์ และสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย
จะเกิดอะไรขึ้นขณะทำการตรวจร่างกาย
โดยทั่วไปแล้วการตรวจร่ายกาย สำหรับภาวะมีบุตรยากจะประกอบด้วย
- การซักประวัติ
โดยแพทย์จะทำการสอบถามประวัติต่างๆจากคู่สมรสแต่ละฝ่ายแยกกันเกี่ยวกับ ประวัติการมีบุตรในอดีต ประวัติโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยรวมทั้งการรักษาได้รับ อาชีพหรือสุขนิสัยที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากและประวัติโรคทางพันธุกรรมใน ครอบครัว เป็นต้น
- การตรวจร่างกายทั่วไป
โดยสิ่งที่หมอจะตรวจก็ได้แก่ การวัดส่วนสูง, ชั่งน้ำหนัก, วัดความดันโลหิต, ตรวจระบบหายใจ, ตรวจระบบหัวใจ, ตรวจเต้านม, ตรวจหน้าท้อง, ตรวจภายใน (หากจำเป็น) และตรวจมะเร็งปากมดลูก หากตรวจว่าพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งแพทย์เฉพาะทางและสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าสมควรให้มีการตั้งครรภ์ได้หรือไม่
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป
เพื่อประเมินความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์และการตรวจจำเพาะเพื่อหาสาเหตุของ ภาวะมีบุตรยากรวมทั้งความผิดปกติที่มีโอกาสถ่ายทอดไปสู่บุตรเมื่อมีการตั้งครรภ์ เช่น การ ตรวจองค์ประกอบของเลือด (complete blood count), การตรวจหาโรคติด เชื้อ, การตรวจมะเร็งปากมดลูก, การตรวจอัลตราซาวน์ของอุ้งเชิงกราน, การตรวจน้ำ อสุจิในฝ่ายชาย การตรวจคัดกรองคู่สมรสที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคบางอย่างที่สามารถ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยและมีผลเสียรุนแรงต่อบุตร เป็นต้น สำหรับการ ตรวจโรคทางพันธุกรรม หากพบว่าทั้งพ่อและแม่ต่างก็มีโรคทางพันธุกรรมแฝง อยู่ในตัว โดยทั่วไปแล้วจะมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกได้ 1 ใน 4 คน โดยจะมี 1 คนที่ ปกติ มี 2 คนที่ปกติแต่มีโรคแฝง ส่วนอีก 1 คนนั้นจะผิดปกติหรือมีโรคปรากฏให้เห็น อย่างชัดเจน
ผลจากการตรวจร่างกาย
ผลการตรวจเบื้องต้นทั้งหมด จะสามารถช่วยบอกสาเหตุของภาวะการมีบุตรยากได้ เป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผลการตรวจที่ทำให้ไม่สามารถบอกสาเหตุที่ขัด เจนได้
รู้ไว้ก่อนการตรวจร่างกาย
หากอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้สามารถส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆได้ตั้งแต่วันที่มาตรวจหรือสามารถกำหนดวันนัดตรวจหรือรักษาในครั้งต่อไปได้ง่ายมากขึ้น คู่สมรสที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีหรือมีโรคประจำตัวที่ได้รับการรักษาอยู่ ก็ควรนำข้อมูลและรายละเอียดการรักษาเหล่านั้นมาด้วยเพื่อใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับผลของภาวะนั้นๆต่อการมีบุตร ในฝ่ายหญิง หากมีรอบประจำเดือนที่สม่ำเสมอ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการมารับการตรวจประเมินควรอยู่ในช่วงวันที่ 2-3 ของรอบเดือน (นับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่หนึ่งของรอบเดือน) เนื่องจากเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการตรวจค่าระดับฮอร์โมน อย่างไรก็ตามในรายที่มีภาวะประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ก็สามารถมาตรวจได้โดยไม่ต้องรอรอบเดือนดังกล่าว ทั้งนี้ควรมีการจดบันทึกรอบเดือนย้อนหลังในช่วงประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา เพื่อเป็นข้อมูลที่ใช้ประเมินเกี่ยวกับการตกไข่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในฝ่ายชาย สามารถมาตรวจได้ตามความสะดวก ทั้งนี้ควรงดการหลั่งน้ำอสุจิเป็นเวลา 2-5 วัน เพื่อให้สามารถส่งตรวจน้ำอสุจิได้ในวันที่มาตรวจ การงดการหลั่งอสุจิในระยะเวลาที่สั้นหรือนานกว่านี้อาจส่งผลให้มีจำนวนของเชื้ออสุจิที่มีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติ
-
Tanawat กล่าวว่า : แจ้งตรวจสอบรีวิวนี้รายละเอียดคะแนนจากคุณ:02/09/2018
บริการรวดเร็วมากกว่าเดิม คุณหมอให้คำแนะนำดีครับ ผมพอใจครับ
-
คนึงเนตร กล่าวว่า : แจ้งตรวจสอบรีวิวนี้รายละเอียดคะแนนจากคุณ:18/07/2018
ขอบคุณ อาจารย์หมอ มากคะ ประทับใจในการรับฟังปัญหาคนไข้ และให้คำปรึกษาแนะนำที่ดีจริงๆคะ
เพิ่มเติมข้อมูลคลีนิค
ติดต่อเราเพื่อแก้ไข
หมายเหตุ
โดยหลักการแล้ว ราคาของเราจะเริ่มต้นที่ราคาเฉลี่ยและราคาอ้างอิง
- Vibhavadi hospital (ศูนย์รักษาผู...
- 51 3 ถนน งามวงศ์วาน แขวง ลาดยาว ...
- Synphaet hospital (โรงพยาบาลสินแ...
- 9/99 ถนนรามอินทรา 52/1 กม.9 เขตค...
- Superior A.R.T. (ศูนย์รักษาผู้มี...
- 1126/2 Vanit building 2, Lobby f...
- SMC (Sukhumvit Maternity Clinic)...
- ซอย สุขุมวิท 55 แขวง คลองตันเหนื...
- Samitivaj Sukhumvit Hospital (โร...
- 133 ซอย สุขุมวิท 49 แขวง คลองตัน...
- Samitivaj Srinakarin Hospital (โ...
- 488 ถนน ศรีนครินทร์ แขวง สวนหลวง...
- SAFE Fertility Center (Ramindra...
- ถนนปัญญาอินทรา...
- Ramathibodi Hospital (ศูนย์ความเ...
- 270 ถนน พระราม6 แขวง ทุ่งพญาไท เ...
- Praram 9 Hospital (ศูนย์ผู้มีบุต...
- 99 ถนน พระราม 9 แขวง บางกะปิ เขต...
- Piyavate hospital (โรงพยาบาลปิยะ...
- 998 ถนน ริมคลองสามเสน แขวง บางกะ...
- Phyathai 3 Hospital (ศูนย์รักษาผ...
- 111 ถนนเพชรเกษม แขวง ปากคลองภาษี...
- Phyathai 2 Hospital (ศูนย์รักษาผ...
- 943 ถนน พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เ...
- Phativej clinic (คลีนิคผาติเวช ร...
- 2 ซอย พหลโยธิน 11 ถนน พหลโยธิน แ...
- nawabutr IVF Center (ศูนย์การแพท...
- อาคารคิวเฮ้าส์ Q.House Lumpini ส...
- Nakornthon Hospital (โรงพยาบาลนค...
- 1 ถนนพระรามที่ 2 แขวง แสมดำ เขตบ...
- Jintrabutra Reproductive Center ...
- 201-4 ถนน พรานนก แขวง บ้านช่างหล...
- Jetanin Institute for Assisted R...
- 5 ซอย ชิดลม ถนน เพลินจิต แขวง ลุ...
- Bumrungrad International Hospita...
- 33 ซอย สุขุมวิท 3 แขวง คลองเตยเห...
- BNHhospital (โรงพยาบาล BNH)...
- 9 1 ถนน คอนแวนต์ แขวง สีลม เขตบา...
- Bangkok hospital (โรงพยาบาลกรุงเ...
- ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง บางกะปิ...