- จันทร์ :08:30-16:00
- อังคาร :08:30-16:00
- พุธ :08:30-16:00
- พฤหัสบดี :08:30-16:00
- ศุกร์ :08:30-16:00
- เสาร์ :ปิด
- อาทิตย์ :ปิด
โรงพยาบาลมหาราช ให้บริการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา เพื่อประเมินภาวะสมาธิสั้นในเด็ก ตั้งอยู่บนถนน ราชณดำเนิน ในจังหวัด นครศรีธรรมราช ยินดีให้บริการ ให้คำปรึกษา วินิจฉัยและดูแล เด็กๆที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม โดยทีมงานทางการแพทย์ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ อีกทั้งยังมี กิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ
การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น) – ADHD
ชื่ออื่นๆ : เข้ารับการปรึกษา (สมาธิสั้น)
การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น) คืออะไร ทำไมต้องมีการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น)?
โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบสติปัญญา ระบบประสาท และพฤติกรรม โดยอาการหลักๆ ของโรคอาจสังเกตได้ดังนี้ คือ การไม่มีสมาธิจดจ่อ อยู่ไม่นิ่งและซุกซนผิดปกติ หุนพันพลันแล่นและขาดความยับยั้งชั่งใจ อาการเหล่านี้มักปรากฏในเด็กวัยก่อน 7 ขวบ โรคนี้มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2-3 เท่า ปัจจุบันพบว่าเด็กทั่วโลกร้อยละ 3-5 ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น (ADHD) โดยเป็นเด็กในวัยเรียนถึงร้อยละ 2-16 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก
การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น จะทำให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรคและแนวทางช่วยเหลือ มีทักษะในการดูแลอย่างเหมาะสมและมีเจตคติเชิงบวกต่อตัวเด็ก ควรมองว่าเป็นความบกพร่องที่ต้องช่วยกันแก้ไข แทนที่จะมองว่าเด็กขี้เกียจ ไม่สนใจเรียน
เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) อาจได้รับประโยชน์จากการเข้ารับคำปรึกษาทางจิตวิทยา รูปแบบการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาที่ใช้บ่อย ประกอบด้วย
- การบำบัดพฤติกรรม : เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาที่จะให้เด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น ADHD ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก
- การทำจิตบำบัด : การรักษาชนิดนี้เป็นการให้เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น ADHD ได้พูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เกี่ยวกับปัญหาของตัวเองและเรียนรู้วิธีการในการจัดการกับอาการของตน
- การบำบัดจากครอบครัว : การบำบัดรูปแบบนี้ช่วยให้พ่อแม่ คู่สมรส หรือพี่น้องจัดการกับความเครียดในการอาศัยอยู่กับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ADHD ได้
- การอบรมทักษะการเลี้ยงลูก : การรักษาประเภทนี้ช่วยให้พ่อแม่มีวิธีในการอบรมพฤติกรรมสำหรับเด็ก
- การอบรมทักษะทางสังคม : การอบรมประเภทนี้ช่วยให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ADHD เรียนรู้พฤติกรรมในสังคมที่เหมาะสม
จะเกิดอะไรขึ้นขณะทำการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น)
การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยานั้นทำได้ไม่ยากโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโต ซึ่งแพทย์จะทำการประเมินปัญหาในแต่ละด้านของเด็กเพื่อการวินิจฉัยโรค และรวมไปถึงสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เด็กอาจมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้น ADHD เช่น โรคทางระบบประสาทอื่นๆ หรือความวิตกกังวล ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองและเด็ก โดยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือด หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอสมองแต่อย่างใด แพทย์อาจมีการประเมินพฤติกรรมที่โรงเรียนจากครูผ่านแบบสอบถาม หรือประเมินระดับสติปัญญาโดยนักจิตวิทยาคลินิก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาความจำเป็นในเด็กแต่ละรายไป
ผลการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น)
การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาจะทำให้ผู้เข้ารักษารู้จักและยอมรับตนเองว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ADHD และพยายามจัดระเบียบให้กับตนเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานได้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และอาจจะมีโอกาสได้แสดงความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมาก็ได้ เพราะคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาปกติ จนถึงดีเลิศ ตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ที่สามารถคิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ บุคคลเหล่านี้ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเขาสามารถแสดงศักยภาพที่โดดเด่นของเขาออกไปทั่วโลก
ข้อควรรู้ก่อนทำการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น)
อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้น ADHD และอาจต้องการคำปรึกษาทางจิตวิทยา
- อาการขาดสมาธิ เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิด เด็กมักจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะไม่เรียบร้อย ตกๆหล่นๆ ดูเหมือนสะเพร่า ขาดความรอบคอบ เด็กมักจะมีลักษณะขี้ลืม ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ มีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะลืมทำ หรือทำครึ่งๆ กลางๆ อาการขาดสมาธินี้มักจะมีต่อเนื่อง ติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่
- อาการซน เด็กจะมีลักษณะซน อยู่ไม่สุข ยุกยิกตลอดเวลา นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย มักประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด ชอบแกล้งหรือแหย่เด็กอื่น
- อาการหุนหันพลันแล่น เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองรถ ซุ่มซ่าม ทำข้าวของแตกหักเสียหาย เวลาต้องการอะไรก็จะต้องให้ได้ทันที รอคอยอะไรไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักจะพูดโพล่งออกมาโดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักตอบคำถามโดยที่ฟังคำถามยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกเวลาที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ หรือกระโดดเข้าร่วมวงเล่นกับเด็กคนอื่นโดยไม่ขอก่อน
เพิ่มเติมข้อมูลคลีนิค
ติดต่อเราเพื่อแก้ไข
หมายเหตุ
โดยหลักการแล้ว ราคาของเราจะเริ่มต้นที่ราคาเฉลี่ยและราคาอ้างอิง
- Dr.Kanjana clinic (คลินิกหมอ กาญ...
- 219/24 ถ.เทวบุรี อ.เมือง ...