- จันทร์ :08:00-16:00
- อังคาร :08:00-16:00
- พุธ :08:00-16:00
- พฤหัสบดี :08:00-16:00
- ศุกร์ :08:00-16:00
- เสาร์ :08:00-16:00
- อาทิตย์ :08:00-16:00
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ให้บริการใช้ยาบำบัด เพื่อรักษาภาวะสมาธิสั้นในเด็ก ตั้งอยู่บนถนนกาญจนวณิชย์ ในหาดใหญ่ เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้การดูแลโดยแพทย์และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น ให้การดูแลและบริการอย่างเอาใจใส่เป็นอย่างดี
กิจกรรมบำบัด (สมาธิสั้น) – ADHD
ชื่ออื่นๆ : การบูรณาการประสาทรับความรู้สึก (สมาธิสั้น)
กิจกรรมบำบัด (สมาธิสั้น) คืออะไร ทำไมต้องมีกิจกรรมบำบัด (สมาธิสั้น)?
โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบสติปัญญา ระบบประสาท และพฤติกรรม โดยอาการหลักๆ ของโรคอาจสังเกตได้ดังนี้ คือ การไม่มีสมาธิจดจ่อ อยู่ไม่นิ่งและซุกซนผิดปกติ หุนพันพลันแล่นและขาดความยับยั้งชั่งใจ อาการเหล่านี้มักปรากฏในเด็กวัยก่อน 7 ขวบ โรคนี้มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2-3 เท่า ปัจจุบันพบว่าเด็กทั่วโลกร้อยละ 3-5 ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น โดยเป็นเด็กในวัยเรียนถึงร้อยละ 2-16 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) เป็นการประยุกต์กิจวัตรหรือกิจกรรม มาใช้ในการตรวจประเมิน วินิจฉัย ส่งเสริม บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่มีอาการโรคสมาธิสั้น ADHD ให้สามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้ ช่วยเสริมสร้างสมาธิ ทักษะการคิด พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
จะเกิดอะไรขึ้นขณะทำกิจกรรมบำบัด (สมาธิสั้น)
ทั้งผู้ปกครองและครูสามารถใช้กิจกรรมบำบัดช่วยเด็กได้ดังนี้
ก่อนเริ่มทำกิจกรรม
จัดสถานที่ให้เหมาะสม เช่น ในห้องเรียนไม่ควรนั่งเรียนใกล้หน้าต่าง ประตูหรือเพื่อนที่มักจะชวนคุย เพราะจะทำให้วอกแวกได้ง่าย ถ้าเป็นไปได้ควรให้นั่งแถวหน้าใกล้กระดาน หรือใกล้ๆครูผู้สอน ที่บ้านควรปิดโทรทัศน์ขณะทำการบ้าน จัดโต๊ะที่ทำการบ้านให้อยู่ในห้องที่สงบหรือหันหน้าเข้ากำแพง
การตั้งกฎกติกาและสื่อสารกับเด็กให้ชัดเจน เช่น ทำการบ้านให้เสร็จก่อนจึงจะสามารถไปเล่นได้ ถ้าทำการบ้านเลขเสร็จ 10 ข้อแล้วจะได้พักดูการ์ตูน 1 ตอน เป็นต้น
เมื่อทำกิจกรรม
ควรแบ่งขั้นตอนในการทำให้งานแต่ละอย่างออกเป็นขั้นย่อยๆแล้วให้เด็กค่อยๆทำไปที่ละขั้น เช่น เด็กปกติสามารถทำการบ้าน 20 ข้อเสร็จได้รวดเดียว แต่เด็กสมาธิสั้น ADHD อาจต้องแบ่งเป็นทำครั้งละ 10 ข้อ แล้วไปพักเปลี่ยนอิริยาบทก่อน จึงกลับมาทำต่ออีก 10 ข้อเป็นต้น
การให้สัญญาณเตือน เมื่อเด็กวอกแวกหรือเสียสมาธิ อาจต้องช่วยด้วยการส่งสัญญาณเตือน เช่น การเรียกชื่อ หรือเรียกให้เด็กเปลี่ยนกิจกรรม เช่น ในห้องเรียนอาจให้ออกมาช่วยครูลบกระดาน หรือ แจกสมุด แล้วจึงให้กลับไปทำกิจกรรมเดิมต่อ ข้อควรระมัดระวังคือจะต้องไม่แสดงท่าทีไม่พอใจหรือรำคาญในการเตือน
หลังการทำกิจกรรม
การให้รางวัลหรือการชมเชย เมื่อทำงานสำเร็จควรให้การชมเชย เพื่อเป็นแรงเสริมทำให้เด็กอยากประสบความสำเร็จในการทำสิ่งนั้นอีก หรืออาจให้รางวัลเป็นสัญลักษณ์ของการชื่นชม เช่น ให้สติ๊กเกอร์ติดสมุดเมื่อทำการบ้านเสร็จ การให้การชมเชยถือเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
ผลการทำกิจกรรมบำบัด (สมาธิสั้น)
การจัดการกับปัญหากิจกรรมโดยใช้เทคนิคกิจกรรมบำบัด จะช่วยลดปัญหาสมาธิสั้น ADHD ในเด็กลงได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดอุปสรรคในการเรียนรู้ ฝึกให้เด็กสามารถจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆได้นานขึ้น รู้จักการตั้งใจฟังคำสั่งที่มอบหมายให้ทำ รู้จักการรอคอย
จีน แอร์ (Jean Ayres) นักกิจกรรมบำบัด ได้อธิบายว่า เด็กที่สมาธิสั้น ADHD จะมีความสามารถของตัวรับความรู้สึก และกระบวนการนำความรู้สึกไปที่สมองผิดปกติ เมื่อรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเข้ามาซึ่งถือเป็นสิ่งเร้า แล้วไม่สามารถทำการจัดระเบียบของสิ่งเร้านั้นได้ ทำให้ไม่สามารถตอบสนองออกมาเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม แต่ถ้าสามารถควบคุมสิ่งเร้าคือการรับความรู้สึกต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จะเป็นการกระตุ้นกลไกการทำงานของสมองให้สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดีขึ้น
ข้อควรรู้ก่อนทำกิจกรรมบำบัด (สมาธิสั้น)
นักกิจกรรมบำบัด จะเป็นผู้ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมต่างๆ มาช่วยในการบำบัดเด็กสมาธิสั้น ADHD ตามสภาพปัญหาของแต่ละคน
ขอบเขตงานของนักกิจกรรมบำบัด จะครอบคลุมถึง
- การสอนและฝึกให้เด็กสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองในด้านต่างๆ เช่น การทานอาหาร การใส่เสื้อผ้า เป็นต้น
- กิจกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการควบคุมตนเองในเด็กที่มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง ก้าวร้าว ไม่สบตา
- กิจกรรมกระตุ้นการดูด การเคี้ยว และการกลืน
- กิจกรรมเตรียมความพร้อมของทักษะต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานทางการศึกษา เช่น ฝึกทักษะการเขียน ฝึกทักษะการอ่าน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการรับรู้และเรียนรู้
- กิจกรรมฝึกทักษะการเคลื่อนไหว กระตุ้นการชันคอ การคลาน การเดิน
- กิจกรรมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้มือในการหยิบจับ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
- กิจกรรมการฝึกทักษะในการสื่อความหมาย
- กิจกรรมการฝึกทักษะทางสังคม
- กระตุ้นให้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือสังคมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข โดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวหรือผู้อื่น
- ประดิษฐ์ ดัดแปลงอุปกรณ์หรือเครื่องช่วย เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองในการแต่งกาย การทำความสะอาดร่างกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น
- ให้คำปรึกษากิจกรรมการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ในโรงเรียน
เพิ่มเติมข้อมูลคลีนิค
ติดต่อเราเพื่อแก้ไข
หมายเหตุ
โดยหลักการแล้ว ราคาของเราจะเริ่มต้นที่ราคาเฉลี่ยและราคาอ้างอิง
- Bangkok hospital Hatyai (โรงพยาบ...
- 75 ถนนเพชรเกษม ตำบล หาดใหญ่ อำเภ...