- จันทร์ :08:00-16:00
- อังคาร :08:00-16:00
- พุธ :08:00-16:00
- พฤหัสบดี :08:00-16:00
- ศุกร์ :08:00-16:00
- เสาร์ :08:00-16:00
- อาทิตย์ :08:00-16:00
โรงพยาบาลสงขลา ให้บริการเครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู ตั้งอยู่บนถนนสงขลา-ระโนด มีคลินิกหู คอ จมูกทั่วไป ให้บริการทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมีศูนย์เครื่องช่วยฟัง โดยบริษัทสยาม เฮียร์ริ่ง จำกัด จำหน่ายเครื่องช่วยฟังยี่ห้อ โซนิค ยูนิตรอน และซีเมนส์ ซึ่งเป็นเครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพดี
การตรวจการได้ยิน
ชื่ออื่นๆ : การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน, การตรวจระดับการได้ยิน, การทดสอบการได้ยิน
การตรวจการได้ยินคืออะไร ทำไมต้องมีการตรวจการได้ยิน?
การตรวจการได้ยินเป็นการตรวจการได้ยินเสียงที่ความถี่ต่างๆ ตั้งแต่ระดับความถี่ของเสียงสนทนาไปจนถึงเสียงของเครื่องจักร ซึ่งนับเป็นความถี่เสียงที่ไม่ได้ยินกันในชีวิตประจำวัน หรือผู้ที่ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะไม่ได้มีโอกาสสัมผัส ในการตรวจจะนำข้อมูลไปสร้างเป็นกราฟ เรียกว่า ออดิโอแกรม ซึ่งเมื่อแปลผลแล้วจะทำให้ทราบว่าผู้ที่ได้รับการตรวจมีสมรรถภาพการได้ยินเป็นอย่างไร ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังว่าผู้ที่ได้รับการตรวจมีการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากการทำงานหรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจเพื่อค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติในการได้ยินในระดับที่เป็นมาก เช่น หูตึงมาก หรือหูตึง รุนแรง เพื่อช่วยในการรักษา ตลอดจนดูแลให้ใช้เครื่องช่วยการได้ยิน เพื่อจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
จะเกิดอะไรขึ้นขณะทำการตรวจการได้ยิน
ในการตรวจการได้ยินจะแบ่งการดำเนินการออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ การตรวจหูและการประเมินการได้ยิน และ การตรวจหาระดับการได้ยิน
- การตรวจหูและการประเมินการได้ยิน
1) การตรวจโดยใช้โอโตสโคป เพื่อดูสภาพภายในช่องหูชั้นนอกและเงาของช่องหูชั้นกลาง และตรวจดูสภาวะการอักเสบภายใน 2) การตรวจการได้ยินโดยใช้ส้อมเสียง เพื่อทดสอบการได้ยินอย่างคร่าวๆ วิธีนี้สามารรับทราบผลได้อย่างรวดเร็ว 3) การตรวจการได้ยินด้วยเครื่องเอาดิโอเมเทอร์ เป็นการตรวจวัดระดับความดังเสียงต่ำสุดที่ผู้เข้ารับการตรวจสามารถได้ยินที่ความถี่ต่างๆ
- การตรวจหาระดับการได้ยิน แบ่งออกเป็นสามวิธีหลักๆ คือ
- Routine Audiometry เป็นการทดสอบที่ทำเป็นประจำในคลินิคเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือติดตามผลการรักษา แบ่งย่อยได้เป็น
1.1 Puretone Air Conduction (AC) คือการตรวจวัดการได้ยินโดยการนำเสียงทางอากาศ 1.2 Puretone Bone Conduction (BC) คือการตรวจวัดการได้ยินโดยการนำเสียงทางกระดูก 1.3 Speech Audiometry คือการวัดการได้ยินโดยใช้คำพูด
- Masking Audiometry คือการวัดการได้ยินเสียงโดยวิธีที่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยไม่ให้เสียงที่ตรวจในหูข้างหนึ่งข้ามกระโหลกศรีษะมายังหูอีกข้างหนึ่ง กระทำโดยใช้เสียงรบกวนปล่อยเข้าไปรบกวนหูด้านที่ดีขณะที่กำลังตรวจวัดหูอีกข้างหนึ่ง
- Special Audiometer เป็นการทดสอบพิเศษนอกเหนือไปจากการทดสอบประจำในคลินิกเพื่อหาโรคหรือความผิดปกติของหู
ผลการตรวจการได้ยิน
ผลของการตรวจจะอาศัยการแปลผลจากกราฟ โดยจะผลการตรวจจะมี 2 ส่วน คือ 1. ระดับการได้ยิน 2. มีความผิดปกติในช่วงคลื่นเสียงความถี่สูงหรือต่ำร่วมด้วยหรือไม่ ผลการตรวจจะแบ่งเป็นระดับดังนี้ ผู้ที่มีอาการหูตึง ในกรณีที่มีอาการหูตึงเล็กน้อยถึงปานกลางอาจทำให้ท่านเสียบุคลิกได้บ้าง ดังนั้นจึงควรใส่เครื่องป้องกันทุกครั้งที่เข้าสู่ที่บริเวณที่มีเสียงดัง และหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหู สำหรับผู้ที่มีหูตึงในระดับมากหรือรุนแรงควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ทางหู-คอ-จมูก เพื่อพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยการได้ยินหรือไม่ ผู้ที่มีระดับการได้ยินปกติแต่มีความผิดปกติของการได้ยินที่ความถี่สูง/ต่ำร่วมด้วย ในกรณีนี้การได้ยินของท่านเป็นนั้นปกติดี ท่านสามารถพูดคุยสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติแต่ระดับการได้ยินของท่านนั้นเริ่มมีการสูญเสียที่ความถี่สูง (หรือต่ำ) ซึ่งไม่ใช่เสียงที่คนเราพูดคุยกัน โดยส่วนมากมักเป็นเสียงเครื่องจักร โลหะ เสียงนาฬิกา เป็นต้น สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากได้รับเสียงดังๆเป็นเวลานาน
ข้อควรรู้ก่อนทำการตรวจการได้ยิน
กลุ่มคนที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
- ผู้ที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหู เช่น มีเสียงรบกวนในหู เวียนศีรษะ บ้านหมุน หน้าเบี้ยว
- ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณหูและศีรษะ ร่วมกับมีการสูญเสียการได้ยิน
- ผู้ที่ใช้ยากลุ่มที่อาจทำลายประสาทหู
- ผู้ที่ทำงานในที่ที่มีเสียงดัง หรือ ผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเสียงดัง
- ผู้ที่มีประวัติหูตึง หรือหูหนวกที่เป็นกรรมพันธุ์
- ผู้ที่ต้องการใส่เครื่องช่วยฟัง
- เด็กที่พูดช้า พูดผิดปกติ หรือ มีปัญหาการเรียนรู้
จะต้องทำอย่างไรหากสูญเสียการได้ยิน
เมื่อสูญเสียระดับการได้ยินไปแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาดีดังเดิมได้ วีที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้เป็นมากไปกว่าเดิม นั่นก็คือการใส่เครื่องป้องกันเสียงดังทุกครั้งเมื่อต้องเข้าสู่บริเวณที่มีเสียงดัง และปฏิบัติตามกฏแห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
เพิ่มเติมข้อมูลคลีนิค
ติดต่อเราเพื่อแก้ไข
หมายเหตุ
โดยหลักการแล้ว ราคาของเราจะเริ่มต้นที่ราคาเฉลี่ยและราคาอ้างอิง
- DMED HEARING CENTER Co.,Ltd. Hat...
- 26/7 รา ษ ฏ ร์ ตำบล หาดใหญ่ อำเภ...