- จันทร์ :08:00-20:00
- อังคาร :08:00-20:00
- พุธ :08:00-20:00
- พฤหัสบดี :08:00-20:00
- ศุกร์ :08:00-20:00
- เสาร์ :08:00-20:00
- อาทิตย์ :08:00-20:00
โรงพยาบาลพญาไท2 ให้บริการเครื่องช่วงฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู ตั้งอยู่บนถนน พหลโยธิน มีแผนกหู คอ จมูก เปิดบริการสำหรับผู้ป่วย ทำการตรวจรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน หู คอ จมูก มีบุคลากรด้านตรวจการได้ยินและการฝึกพูดที่ผ่านการอบรมทั้งในและต่างประเทศ มีเครื่องมือที่ทันสมัย มีการรักษาที่ มีประสิทธิภาพ และมีการตรวจหาความผิดปกติของการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ
เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู
ชื่ออื่นๆ : เครื่องช่วยฟังชนิดแขวนหลังหูแบบมีพิมพ์หู, เครื่องช่วยฟังชนิดเกี่ยวหลังหูแบบมีพิมพ์หู
เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หูคืออะไร ทำไมต้องใช้เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู?
เครื่องช่วยฟัง คือ เครื่องขยายเสียงให้ดังขึ้น ประกอบไปด้วยไมโครโฟนซึ่งเป็นตัวรับเสียง แอมพลิไฟเออร์ซึ่งเป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น และลำโพงซึ่งเป็นตัวปล่อยเสียงออก เครื่องช่วยฟังนั้นทำงานโดยอาศัยถ่าน เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู เป็นเครื่องช่วยฟังที่มีรูปทรงของตัวเครื่องโค้งคล้ายกล้วยหอม ซึ่งจะคล้องหรือเกี่ยวอยู่ด้านหลังใบหู เครื่องช่วยฟังชนิดนี้ต้องสั่งทำโดยการหล่อแบบพิมพ์หู (ear mould) ที่ทำขึ้นเฉพาะของใครของมัน เพื่อให้ได้ขนาดของเครื่องเข้ากับสรีระหูของผู้ใช้งาน ทำให้เครื่องกระชับหู ไม่เกิดการหลุดจากหูบ่อยๆ เพิ่มความสะดวกสบายในการสวมใส่ รวมทั้งยังป้องกันเสียงรบกวนภายนอกได้ดีอีกด้วย ในปัจจุบัน นอกจากจะมีการทำแบบพิมพ์หูที่ผลิตขึ้นเฉพาะบุคคลเพื่อประกอบกับชุดหูฟัง ทำให้ฟังเสียงเพลงได้ชัดเจน ลดเสียงรบกวน และลดอาการล้าในช่องหูแล้ว ยังมีการทำแบบพิมพ์หูรูปแบบใหม่ ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด สวยงาม เมื่่อใส่เข้าไปในช่องหูแล้วแทบมองไม่เห็นได้เลย
จะเกิดอะไรขึ้นขณะใช้เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู
โดยปกติแล้วเครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหู จะมีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับปานกลางถึงระดับมาก การใส่และการถอดเครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู
- เปิดที่ใส่ถ่าน ใส่ถ่านให้ชั้วบวกของถ่านตรงกับขั้วบวกของที่ใส่ถ่าน แล้วปิดช่องใส่ถ่านให้สนิท
- ใส่พิมพ์หูโดยจับบริเวณฐานของพิมพ์หู ขยับหรือดันแบบพิมพ์หูให้เข้าไปพอดีกับช่องหู หลังจากนั้นให้คล้องเครื่องไว้ที่ใบหู
- เปิดเครื่อง แล้วหมุนปรับสวิตซ์ ค่อยๆปรับจนได้ยินเสียงตัวเองดังพอดี
- เมื่อเลิกใช้ให้ปิดสวิทช์ และถอดเครื่องออกโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับบริเวณใบหูของแบบพิมพ์หู และดึงแบบพิมพ์หูออก
- ถอดถ่านออก เพื่อป้องกันถ่านชื้นหรือเป็นสนิม
- ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดเครื่อง และเก็บเครื่องใส่กล่อง
ข้อดีและข้อเสียของการใช้เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู
ข้อดี
- คุณภาพเสียงดี
- ราคาไม่สูงมาก
- ใช้ได้กับผู้ที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับปานกลางถึงระดับมาก
- มีขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่
- ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่สวมแว่นตา เพราะจะทำให้รู้สึกเกะกะ เนื่องจากต้องทัดเครื่องช่วยฟังไว้ที่ใบหู
- ใช้ถ่านเปลือง ถ่าน 1 ก้อนใช้ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ และต้องใช้ถ่านสำหรับเครื่องช่วยฟังเท่านั้น
- ช่องหูถูกอุดกั้น อาจได้ยินเสียงพูดหรือเสียงเคี้ยวอาหารของตนเอง
- ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการให้ยาหรือการผ่าตัด
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยินต่อการสื่อความหมายด้วยการฟังและการพูด
- เด็กที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยินต่อพัฒนาการทางภาษาและการพูด
- ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินจากโรคหูที่อาจได้รับประโยชน์จากการผ่าตัด แต่มีข้อห้ามในการผ่าตัดหรือปฏิเสธการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหูนั้นๆ เช่น เป็นโรคหัวใจ เหลือการได้ยินเพียงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งหูหนวก เป็นต้น
- ในช่วงแรก เมื่อรู้สึกล้า ให้ถอดเครื่องช่วยฟังออก
- ควรฝึกการฟังเสียงที่เงียบในบ้านและเปิดเสียงเครื่องช่วยฟังโดยเริ่มจากเบาๆก่อน
- เริ่มคุยกับคนเพียงหนึ่งคนในที่เงียบ และขยายไปที่ที่มีเสียงรบกวน จากนั้นเริ่มฝึกฟังและพูดคุยกับคนหลายๆคน
- ในการดูโทรทัศน์ แนะนำให้ดูข่าวก่อน เนื่องจากพิธีกรจะพูดด้วยเสียงระดับเดียว ทำให้ฟังง่าย
- ฝึกปรับตัวกับเสียงในสิ่งแวดล้อม ให้หมุนเปลี่ยนระดับความดังเมื่อจำเป็นเท่านั้น และควรใช้ระดับความดังเสียงปกติที่ตั้งไว้
- เมื่อไปอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมากๆจนรู้สึกทนไม่ไหว ให้ถอดเครื่องช่วยฟังออก
- ฝึกฟังและแยกแยะเสียงที่คล้ายกัน เช่น ฟัน-ดัน, กบ-ขบ เป็นต้น รวมทั้งอาจใช้การอ่านปากช่วย
- หากมีปัญหาให้รีบมาพบแพทย์ด้านการได้ยิน
- หากมีปัญหาในการฟัง อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ ให้ฝึกปรับตัวตามคำแนะนำต่อไป
ข้อเสีย
รู้ไว้ก่อนใช้เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหูแบบมีพิมพ์หู
บุคคลประเภทใดควรใช้เครื่องช่วยฟัง
การเริ่มใส่เครื่องช่วยฟัง ควรเริ่มใส่ในช่วงเวลาสั้นๆ วันละหลายๆครั้ง และค่อยๆเพิ่มระยะเวลาในการใส่นานขึ้นจนใส่ได้ทั้งวัน
เพิ่มเติมข้อมูลคลีนิค
ติดต่อเราเพื่อแก้ไข
หมายเหตุ
โดยหลักการแล้ว ราคาของเราจะเริ่มต้นที่ราคาเฉลี่ยและราคาอ้างอิง
- Vejthani hospital (โรงพยาบาลเวชธ...
- 1 ซอย ลาดพร้าว 111 แขวง คลองจั่น...
- Synphaet hospital (โรงพยาบาลสินแ...
- 9/99 ถนนรามอินทรา 52/1 กม.9 เขตค...
- Samitivej Thonburi Hospital (โรง...
- 337 ถนน สมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวง...
- Samitivej Srinakarin Hospital (โ...
- 488 ถนน ศรีนครินทร์ แขวง สวนหลวง...
- Samitivej Hospital (โรงพยาบาลสมิ...
- 133 ซอย สุขุมวิท 49 แขวง คลองตัน...
- Praram9 Hospital (โรงพยาบาลพระรา...
- 99 ถนน พระราม 9 แขวง บางกะปิ เขต...
- Piyavate hospital (โรงพยาบาลปิยะ...
- 998 ถนน ริมคลองสามเสน แขวง บางกะ...
- Phyathai 3 Hospital (โรงพยาบาลพย...
- 111 ถนนเพชรเกษม แขวง ปากคลองภาษี...
- Phyathai 1 Hospital (โรงพยาบาลพย...
- 364/1 ถ. ศรีอยุธยา แขวง ถนนพญาไท...
- Nakornthon Hospital (โรงพยาบาลนค...
- 1 ถนนพระรามที่ 2 แขวง แสมดำ เขตบ...
- Maroongroge Co.,Ltd (บริษัท มารุ...
- 120/1 ถนน รามคำแหง แขวง หัวหมาก ...
- Intimexhearing (Wisutkasat) (ศูน...
- วิสุทธิกษัตริย์...
- Intimexhearing (RamaVI) (ศูนย์บร...
- 78/16 ถนน พระรามที่ 6 แขวง สามเส...
- Eye Ear Nose Throat Hospital (โร...
- 585/1 ถนน สิรินธร แขวง บางบำหรุ ...
- Eartone – Digital Hearing ...
- ซอยสุขุมวิท 22...
- Eartone – Digital Hearing ...
- ลาดพร้าวซอย 5...
- Eartone – Digital Hearing ...
- 2/29 sukhumvit 42 First floor of...
- Eartone – Digital Hearing ...
- เพชรเกษม
- DMEDHEARING Center Bangkae (ศูนย...
- 326/3-4 Sukhothai Rd, Soi 7, Ban...
- Bumrungrad International Hospita...
- 33 ซอย สุขุมวิท 3 แขวง คลองเตยเห...