- จันทร์ :08:30-19:00
- อังคาร :08:30-19:00
- พุธ :08:30-19:00
- พฤหัสบดี :08:30-19:00
- ศุกร์ :08:30-19:00
- เสาร์ :08:30-19:00
- อาทิตย์ :08:30-19:00
โรงพยาบาลปิยะเวท ให้บริการเครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหู ตั้งอยู่บนถนนริมคลองสามเสน มีคลินิกหู คอ จมูก ให้บริการโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังมีบริการตรวจการได้ยินในระดับการสมองซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยเด็กที่มีการได้ยินผิดปกติร่วมกับมีภาวะบกพร่องทางสมอง และมีบริการใส่เครื่องช่วยฟัง
เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหู
ชื่ออื่นๆ : เครื่องช่วยฟังแบบเล็กใส่ในช่องหู, เครื่องช่วยฟังชนิดเล็กใส่ในช่องหู
เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหูคืออะไร ทำไมต้องใช้เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหู?
เครื่องช่วยฟัง คือ เครื่องขยายเสียงให้ดังขึ้น ประกอบไปด้วยไมโครโฟนซึ่งเป็นตัวรับเสียง แอมพลิไฟเออร์ซึ่งเป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น และลำโพงซึ่งเป็นตัวปล่อยเสียงออก เครื่องช่วยฟังนั้นทำงานโดยอาศัยถ่าน เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหู จะเป็นเครื่องช่วยฟังแบบสั่งทำขึ้นเฉพาะตัว โดยมีการหล่อแบบพิมพ์หูและจะบรรจุเครื่องช่วยฟังในแบบพิมพ์เพื่อให้ได้รูปร่างและขนาดของเครื่องเท่ากับช่องหูของผู้ใช้งานแต่ละคน เวลาใช้ต้องสอดเข้าไปในช่องหู นับเป็นเครื่องช่วยฟังขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีขนาดพอดีกับส่วนล่างของหูชั้นนอก เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหูมักจะไม่นิยมใช้ในเด็กเนื่องจากหูของเด็กมีการเจริญเติบโต ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนขนาดกรอบของเครื่องบ่อยครั้ง ในส่วนของตัวลำโพงจะอยู่ในช่องหู แก้วหูจึงได้รับเสียงโดยตรงจากลำโพงซึ่งจะทำให้ได้ยินเสียงชัดเจนใกล้เคียงธรรมชาติ ให้คุณภาพเสียงที่ดี และป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก
จะเกิดอะไรขึ้นขณะใช้เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหู
เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหูนั้นมีขนาดกลางเมื่อเทียบกับบรรดาเครื่องช่วยฟังในรุ่นใส่ในหูแบบอื่นๆ ตัวเครื่องจะปิดส่วนของหูชั้นนอกส่วนล่าง ขนาดของเครื่องจะพอมองเห็นได้บ้าง แต่สังเกตุได้ยากกว่าเครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในหูแบบเต็มใบหู สามารถหยิบจับและใช้งานได้ง่าย เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหูถือว่ามีกำลังขยายเล็กน้อยถึงปานกลางหากเปรียบเทียบกับเครื่องช่วยฟังในรุ่นใส่ในหูแบบอื่นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง ถึงแม้เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหูจะซ่อนอยู่ในช่องหู แต่เนื่องจากมีขนาดปานกลางจึงยังคงอาจถูกสังเกตได้จากคนรอบข้าง โดยปกติแล้ว เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหูจะทำงานในระบบดิจิทัล ตัวเครื่องจะเปลี่ยนสัญญาณเสียงที่ได้รับผ่านไมโครโฟนจากสัญญาณอนาล็อคตามธรรมชาติเป็นสัญญาณดิจิทัลเพื่อประมวลผลโดยใช้อัลกอริทึ่มชั้นสูงที่รองรับการคำนวนทางคณิตศาสตร์ซึ่งสามารถสร้างวงจรขยายและกรองสัญญาณที่มีความซับซ้อนสูงได้ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนกลับเป็นสัญญาณเสียงผ่านลำโพงสู่ผู้ใช้งานต่อไป
ข้อดีและข้อเสียของการใช้เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหู
ข้อดี
- มีความเป็นธรรมชาติมากกว่าเครื่องช่วยฟังแบบอื่นๆ
- การฟังเสียงยิ่งเป็นธรรมชาติ เพราะไมโครโฟนอยู่ในหู
- เห็นความพิการน้อยลง เนื่องจากตัวเครื่องดูกลมกลืนไปกับหู
- รับเสียงจากลมที่เข้าไปได้น้อยลง
ข้อเสีย
- ต้องสั่งทำเฉพาะบุคคล ราคาสูง
- ใช้ได้เฉพาะผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลาง
- อายุการใช้งานของถ่านสั้นกว่าแบบอื่นๆ ถ่าน 1 ก้อน ใช้ได้เพียงแค่ 5-10 วันเท่านั้น
- ต้องใช้ถ่านสำหรับเครื่องช่วยฟังเท่านั้น
- ไม่นิยมใช้ในเด็ก เนื่องจากหูของเด็กมีการขยายขนาด ทำให้ต้องเปลี่ยนกรอบบ่อยๆ
รู้ไว้ก่อนใช้เครื่องช่วยฟังชนิดใส่ในช่องหู
บุคคลประเภทใดควรใช้เครื่องช่วยฟัง
- ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการให้ยาหรือการผ่าตัด
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยินต่อการสื่อความหมายด้วยการฟังและการพูด
- เด็กที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยินต่อพัฒนาการทางภาษาและการพูด
- ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินจากโรคหูที่อาจได้รับประโยชน์จากการผ่าตัด แต่มีข้อห้ามในการผ่าตัดหรือปฏิเสธการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหูนั้นๆ เช่น เป็นโรคหัวใจ เหลือการได้ยินเพียงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งหูหนวก เป็นต้น
การเริ่มใส่เครื่องช่วยฟัง ควรเริ่มใส่ในช่วงเวลาสั้นๆ วันละหลายๆครั้ง และค่อยๆเพิ่มระยะเวลาในการใส่นานขึ้นจนใส่ได้ทั้งวัน
- ในช่วงแรก เมื่อรู้สึกล้า ให้ถอดเครื่องช่วยฟังออก
- ควรฝึกการฟังเสียงที่เงียบในบ้านและเปิดเสียงเครื่องช่วยฟังโดยเริ่มจากเบาๆก่อน
- เริ่มคุยกับคนเพียงหนึ่งคนในที่เงียบ และขยายไปที่ที่มีเสียงรบกวน จากนั้นเริ่มฝึกฟังและพูดคุยกับคนหลายๆคน
- ในการดูโทรทัศน์ แนะนำให้ดูข่าวก่อน เนื่องจากพิธีกรจะพูดด้วยเสียงระดับเดียว ทำให้ฟังง่าย
- ฝึกปรับตัวกับเสียงในสิ่งแวดล้อม ให้หมุนเปลี่ยนระดับความดังเมื่อจำเป็นเท่านั้น และควรใช้ระดับความดังเสียงปกติที่ตั้งไว้
- เมื่อไปอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมากๆจนรู้สึกทนไม่ไหว ให้ถอดเครื่องช่วยฟังออก
- ฝึกฟังและแยกแยะเสียงที่คล้ายกัน เช่น ฟัน-ดัน, กบ-ขบ เป็นต้น รวมทั้งอาจใช้การอ่านปากช่วย
- หากมีปัญหาให้รีบมาพบแพทย์ด้านการได้ยิน
- หากมีปัญหาในการฟัง อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ ให้ฝึกปรับตัวตามคำแนะนำต่อไป
เพิ่มเติมข้อมูลคลีนิค
ติดต่อเราเพื่อแก้ไข
หมายเหตุ
โดยหลักการแล้ว ราคาของเราจะเริ่มต้นที่ราคาเฉลี่ยและราคาอ้างอิง
- Vejthani hospital (โรงพยาบาลเวชธ...
- 1 ซอย ลาดพร้าว 111 แขวง คลองจั่น...
- Samitivej Srinakarin Hospital (โ...
- 488 ถนน ศรีนครินทร์ แขวง สวนหลวง...
- Samitivej Hospital (โรงพยาบาลสมิ...
- 133 ซอย สุขุมวิท 49 แขวง คลองตัน...
- Praram9 Hospital (โรงพยาบาลพระรา...
- 99 ถนน พระราม 9 แขวง บางกะปิ เขต...
- Phyathai 3 Hospital (โรงพยาบาลพย...
- 111 ถนนเพชรเกษม แขวง ปากคลองภาษี...
- Phyathai 2 Hospital (โรงพยาบาลพย...
- 943 ถนน พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เ...
- Nakornthon Hospital (โรงพยาบาลนค...
- 1 ถนนพระรามที่ 2 แขวง แสมดำ เขตบ...
- Intimexhearing (Wisutkasat) (ศูน...
- วิสุทธิกษัตริย์...
- Intimexhearing (RamaVI) (ศูนย์บร...
- 78/16 ถนน พระรามที่ 6 แขวง สามเส...
- Eye Ear Nose Throat Hospital (โร...
- 585/1 ถนน สิรินธร แขวง บางบำหรุ ...
- Eartone – Digital Hearing ...
- ซอยสุขุมวิท 22...
- Eartone – Digital Hearing ...
- 2/29 sukhumvit 42 First floor of...
- DMEDHEARING Center Bangkae (ศูนย...
- 326/3-4 Sukhothai Rd, Soi 7, Ban...
- BNH hospital (โรงพยาบาล BNH)...
- 9 1 ถนน คอนแวนต์ แขวง สีลม เขตบา...